ผูู้เยื่ยมชม

วันพุธที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ดอกทานตะวัน

ดอกทานตะวัน




เป็นพืชน้ำมันที่มีความสำคัญพืชหนึ่ง น้ำมันที่ได้จากการสกัดจากเมล็ดทานตะวันจะมีคุณภาพสูง ที่ประกอบด้วยกรดไขมันที่ไม่อิ่มตัว เช่น กรดลิโนเลนิค หรือกรดลิโนเลอิค ที่จะช่วยลดโคเลสเตอร์รอลที่เป็นสาเหตุของโรคไขมัน อุดตันในเส้นเลือด นอกจากนี้น้ำมันจากทานตะวันยังประกอบด้วยวิตามิน เอ ดี อี และเคด้วย ผลผลิตส่วนใหญ่อยู่ในเขตอบอุ่น เช่น สหภาพโซเวียต อาร์เจนตินา และประเทศในแถบยุโรปตะวันออก สำหรับประเทศไทย ได้มีการส่งเสริมให้มีการปลูกทานตะวันเป็นอาชีพเสริมมากขึ้น เพื่อเพิ่มผลผลิตให้เพียงพอกับอุตสาหกรรมพืชน้ำมัน และความต้องการของผู้บริโภค ทั้งนี้ เพราะทานตะวันเป็นพืชที่มีอายุสั้นระบบรากลึก มีความทนทานต่อสภาพแห้งแล้งได้ดีกว่าพืชอื่น ๆ แหล่งปลูกที่สำคัญได้แก่ จังหวัดลพบุรี เพชรบูรณ์ และสระบุรี

ทานตะวันเป็นพืชที่มีการปรับตัวเข้ากับสภาพของเขตร้อนได้ดีพอสมควรไม่ไวต่อแสง สามารถออกดอกให้ผลได้ทุกสภาพช่วงแสง ปลูกได้ในบริเวณที่มีการปลูกข้าวโพด ข้าวฟ่าง เมื่อทานตะวันตั้งตัวได้แล้ว จะมีความทนทานต่อสภาพแห้งและร้อนได้พอสมควร และจะเริ่มเติบโตทันทีเมื่อมีฝน นอกจากนี้ทานตะวันยังมีความทนทานต่อสภาพอากาศเย็นจัดได้ดีกว่าข้าวโพด ข้าวฟ่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะต้นกล้า ทานตะวันขึ้นได้กับดินหลายประเภท แต่จะขึ้นได้ดีในสภาพดินที่มีผิวดินหนาและอุ้มความชื้นไว้ได้ดี สามารถทนต่อสภาพความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ตลอดจนสภาพดินเกลือและเป็นด่างจัดได้พอสมควร ซึ่งดินเหล่านี้จะมีอยู่เป็นจำนวนมากในเขตแห้งแล้งทั่ว ๆ ไป



ัลักษณะทางพฤกษศาสตร์


ทานตะวันเป็นพืชในตระกูลเดียวกันกับเบญจมาส คำฝอย ดาวเรือง เป็นพืชล้มลุกที่มีปลูกกันมากในเขตอบอุ่น การที่มีชื่อเรียกว่า "ทานตะวัน" เพราะลักษณะการหันของช่อดอกและใบจะหันไปทางทิศของดวงอาทิตย์ คือ หันไปทางทิศตะวันออกในตอนเช้า และทิศตะวันตกในตอนเย็น แต่การหันจะลดน้อยลงเรื่อย ๆ หลังจากมีการผสมเกสรแล้วไปจนกระทั่งถึงช่วงดอกแก่ ซึ่งช่อดอกจะหันไปทิศตะวันออกเสมอ
ราก เป็นระบบรากแก้วหยั่งลึกลงไปประมาณ 150-270 เซนติเมตร มีรากแขนงค่อนข้างแข็งแรงแผ่ขยายไปด้านข้างได้ยาวถึง 60-150 เซนติเมตร เพื่อช่วยค้ำจุนลำต้นได้ดี และสามารถใช้ความชื้นระดับผิวดินได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ลำต้น ส่วนใหญ่ไม่มีแขนง แต่บางพันธุ์มีการแตกแขนง ขนาดของลำต้น ความสูง การแตกแขนงขึ้นอยู่กับพันธุ์และสภาพแวดล้อม ความสูงของต้นอยู่ระหว่าง 1-10 เซนติเมตร การโค้งของลำต้นตรงส่วนที่เป็นก้านช่อดอกมีหลายแบบ แบบที่ต้องการคือแบบที่ ส่วนโค้งตรงก้านช่อดอกคิดเป็นร้อยละ 15 ของความสูงของลำต้น พันธุ์ที่มีการแตกแขนง อาจมีความยาวของแขนงสูงกว่าลำต้นหลักแขนงอาจแตกมาจากส่วนโคนหรือยอด หรือตลอดลำต้นก็ได้
ใบ เป็นใบเดี่ยวเกิดตรงกันข้าม หลังจากที่มีใบเกิดแบบตรงกันข้ามอยู่ 5 คู่แล้ว ใบที่เกิดหลังจากนั้นจะมีลักษณะวน จำนวนใบบนต้นอาจมีตั้งแต่ 8-70 ใบ รูปร่างของใบแตกต่างกันตามพันธุ์ สีของใบอาจมีตั้งแต่เขียวอ่อน เขียว และเขียวเข้ม ใบที่เกิดออกมาจากตายอดใหม่ ๆ ก้านใบจะอยู่ในแนวตั้งจนกระทั้งใบมีความยาว 1 เซนติเมตร ปลายยอดจะค่อย ๆ โค้งลงจนเมื่อใบแก่แล้วก็จะโค้งลงมาเป็นรูปตัวยู (U) การสร้างใบจะมีมากจนกระทั่งดอกบาน หลังจากนั้นการสร้างใบจะลดน้อยลง
ดอก เป็นรูปจาน เกิดอยู่บนตายอดของลำต้นหลัก หรือแขนงลำต้นมีเส้นผ่าศูนย์กลางของดอกอยู่ระหว่าง 6-37 เซนติเมตร ซึ่งขึ้นกับพันธุ์และสภาพแวดล้อม ดอกมีลักษณะเป็นแบบช่อดอก ประกอบด้วยดอกย่อยเป็นจำนวนมาก ซึ่งแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ
1. ดอกย่อยที่อยู่รอบนอกจานดอก เป็นดอกที่ไม่มีเพศ (เป็นหมัน) มีกลับดอกสีเหลืองส้ม
2. ดอกย่อยที่อยู่ในจานดอก เป็นดอกสมบูรณ์เพศ มีเกสรตัวผู้ที่พร้อมจะผสมได้ก่อนเกสรตัวเมีย และสายพันธุ์ผสมเปิดส่วนใหญ่ผสมตัวเองน้อยมาก
ในแต่ละจานดอกจะมีดอกย่อยอยู่ประมาณ 700-3,000 ดอก ในพันธุ์ที่ให้น้ำมัน ส่วนพันธุ์อื่น ๆ อาจมีดอกย่อยถึง 8,000 ดอก การบานหรือการแก่ของดอกจะเริ่มจากวงรอบนอกเข้าไปสู่ศูนย์กลางของดอก ดอกบนกิ่งแขนงจะมีขนาดเล็ก แต่ถ้าเป็นแขนงที่แตกออกมาตอนแรก ๆ ดอกจะมีขนาดใหญ่เกือบเท่ากับดอกบนลำต้นหลัก ส่วนใหญ่พันธุ์ที่ปลูกเป็นการค้า มักจะเลือกต้นชนิดที่มีดอกเดี่ยว เพื่อความสมบูรณ์ของดอก และให้เมล็ดที่มีคุณภาพดี
เมล็ด (หรือผล) ประกอบด้วยเนื้อใน ซึ่งถูกห่อหุ้มไว้ด้วยเปลือกที่แข็งแรง เมื่อผลสุกส่วนของดอกที่อยู่เหนือรังไข่จะร่วง ผลที่มีขนาดใหญ่จะอยู่วงรอบนอก ส่วนผลที่อยู่ข้างในใกล้ ๆ กึ่งกลางจะมีผลเล็กลง
เมล็ดทานตะวัน แบ่งเป็น 3 ประเภทใหญ่ คือ
1. เมล็ดใช้สกัดน้ำมัน จะมีเมล็ดเล็ก สีดำ เปลือกเมล็ดบางให้น้ำมันมาก
2. เมล็ดใช้รับประทาน จะมีเมล็ดโตกว่าพวกแรก เปลือกหนาไม่ติดกับเนื้อในเมล็ด เพื่อสะดวกในการกะเทาะแล้วใช้เนื้อในรับประทาน โดยอบหรือปรุงแต่งขนมหวาน หรือทำเป็นแป้งประกอบอาหาร หรือใช้เมล็ดคั่วกับเกลือแล้วแทะเปลือกออกรับประทานเนื้อข้างในเป็นอาหารว่างเช่นเดียวกับเมล็ดแตงโม
3. เมล็ดใช้เลี้ยงนก ใช้เมล็ดเป็นอาหารเลี้ยงนก หรือไก่โดยตรง

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
ทานตะวันชอบอากาศอบอุ่นในเวลากลางวันและอากาศเย็นในเวลากลางคืน อุณหภูมิที่เหมาะสมคือ อยู่ระหว่าง 18-25 องศาเซลเซียส สภาพความเป็นกรด-ด่าง ของดินประมาณ 5.7-8 สามารถขึ้นได้ในดินแทบทุกประเภท แต่ที่ขึ้นได้ดีคือดินที่มีหน้าดินลึกที่อุ้มน้ำได้ดี แต่ไม่ชอบน้ำขังและไม่ชอบดินที่มีลักษณะเป็นกรด หากดินที่ปลูกมีความชื้นต่ำ ผลผลิตของเมล็ดจะต่ำลงมาก

พันธุ์ทานตะวัน

ทานตะวันมี 3 สายพันธุ์ พันธุ์ผสมเปิด ซึ่งเป็นพันธุ์เดิมที่ใช้ปลูก ซึ่งในดอกจะมีจำนวนเรณูที่ติดอยู่ที่ก้านชูเกสรตัวเมียน้อย ทำให้การติดเมล็ดด้วยการผสมตัวเองต่ำ ต้องอาศัยแมลงช่วยในการผสมเกสร จึงจะทำให้ติดเมล็ด การปลูกจึงไม่ประสบผลสำเร็จเพราะได้เมล็ดลีบ ผลผลิตต่ำเนื่องจากไม่ค่อยมีแมลงช่วยผสมเกสร แต่ปัจจุบันมีพันธุ์ลูกผสมสามารถติดเมล็ดได้ดี โดยไม่ต้องอาศัยแมลงช่วยผสมเกสร เพราะในดอกมีละอองเรณูที่ติดอยู่ก้านชูเกสรตัวเมียมากกว่าพันธุ์ผสมเปิด 3-4 เท่า จึงทำให้การติดเมล็ดด้วยการผสมตัวเองดีกว่าสายพันธุ์ผสมเปิด
ปัจจุบันยังไม่มีการผลิตเมล็ดทานตะวันลูกผสมในประเทศไทย ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ได้แก่ พันธุ์ไฮซัน 33 และพันธุ์เอส 101 ซึ่งมีลักษณะของจานดอกค่อนข้างใหญ่ กลีบดอกสีเหลืองสดใส และให้ปริมาณน้ำมันสูง
สายพันธุ์สังเคราะห์ซึ่งยังไม่มีการส่งเสริมในปัจจุบัน แต่ในขณะนี้อยู่ระหว่งการวิจัยของหน่วยงานวิจัย
สำหรับทานตะวันที่ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกในขณะนี้คือสายพันธุ์ลูกผสม
ลักษณะดีเด่นของพันธุ์ลูกผสม ได้แก่
1. ผลผลิต เฉลี่ย 254.82 กิโลกรัมต่อไร่
2. การติดเมล็ด เฉลี่ยร้อยละ 76.3
3. เส้นผ่าศูนย์กลาง เฉลี่ย 15.4 เซนติเมตรของจานดอก
4. ความสูงของต้น เฉลี่ย 168.9 เซนติเมตร
5. อายุเก็บเกี่ยว เฉลี่ย 90-100 วัน
6. ปริมาณน้ำมัน เฉลี่ยร้อยละ 48 ที่มา
1-4 การเปรียบเทียบพันธุ์ทานตะวันในท้องถิ่น จำนวน 5 พันธุ์ ฤดูแล้ง ปี 2529 ศูนย์วิจัยพืชไร่เชียงใหม่
5-6 บริษัทแปซิฟิค เมล็ดพันธุ์ จำกัด
ลักษณะที่ดีของพันธุ์ลูกผสม คือ สามารถผสมเกสรภายในดอกเดียวกันได้สูง การติดเมล็ดค่อนข้างดี การหาผึ้งหรือแมลงช่วยผสมเกสรจึงไม่จำเป็นมากนัก แต่ถ้ามีแมลงช่วยผสมก็มีลักษณะประจำพันธุ์ที่มีผลต่อการดึงดูดแมลง เช่น กลีบดอกสีสดใส กลิ่นของเรณู ปริมาณและคุณภาพของน้ำหวานก็ดีกว่าพันธุ์ผสมเปิด ทนทานต่อการโค้นล้มและต้านทานต่อโรคราสนิม

ฤดูปลูกทานตะวัน
ทานตะวันเป็นพืชที่สามารถเจริญเติบโตได้ในทุกฤดูกาล เพราะเป็นพืชที่ไม่ไวต่อช่วงแสง อย่างไรก็ตามการปลูกในบางท้องที่อาจไม่มีความเหมาะสม เช่น ในที่ลุ่มภาคกลาง ในฤดูฝนจะมีน้ำขังแฉะเกินไป หรือที่ดินในฤดูแล้งที่ไม่มีน้ำชลประทาน ดังนั้นฤดูที่เหมาะสมที่สุดมี 2 ฤดูคือ
1. ปลายฤดูฝน ในสภาพพื้นที่ที่เป็นดินร่วนเหนียว ควรปลูกทานตะวันในปลายฤดูฝน คือ ตั้งแต่เดือนกันยายน-พฤศจิกายน แต่ถ้าสภาพพื้นที่ที่ปลูกเป็นดินร่วนทราย ควรปลูกในเดือนสิงหาคม-ตุลาคม ซึ่งเป็นช่วงกลางฤดูฝน
2. ฤดูแล้ง ถ้าในแหล่งปลูกนั้นสามารถใช้น้ำจากชลประทานได้ก็สามารถปลูกเป็นพืชเสริมได้ โดยปลูกในช่วงเดือนพฤศจิกายน - กุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นช่วงหลังจากเก็บเกี่ยวข้าวแล้ว
เนื่องจากพันธุ์ลูกผสมนี้ ดอกค่อนข้างใหญ่ เวลาเมล็ดแก่จานดอกจะห้อยลงมาและด้านหลังของจานดอกจะมีลักษณะเป็นแอ่งเหมือนกระทะก้นแบน เมื่อฝนตกลงมาน้ำฝนจะขังในแอ่งดังกล่าว จะทำให้เกิดโรคเน่าได้มากและทำให้เมล็ดเน่าเสียหาย ดังนั้นจึงควรปลูกในปลายฤดูฝน หรือในฤดูแล้ง แลถ้ามีฝนตกน้ำขังในแอ่งของจานดอก ให้เขย่าต้นเพื่อทำให้น้ำไหลออกให้หมด



การเตรียมดิน

การเตรียมดินก่อนปลูก ควรไถดินให้ลึกในระดับ 30 เซนติเมตรหรือลึกกว่านั้น เพราะว่าเมื่อฝนตกดินจะสามารถรับน้ำให้ซึมซับอยู่ในดินได้มากขึ้น การไถดินลึกจะช่วยทำลายการอัดแน่นของดินในชั้นไถพรวน ทำให้น้ำซึมลงในดินชั้นล่างได้มากขึ้น ควรกำจัดวัชพืชในแปลงให้สะอาด และไถย่อยดินครั้งสุดท้ายให้ร่วนซุย หากมีการใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักลงไปพร้อมกับการย่อยดินครั้งสุดท้ายจะช่วยเสริมธาตุอาหารต่าง ๆ เพื่อให้พืชนำไปใช้ประโยชน์

การปลูก

หลังจากเตรียมดินเสร็จแล้ว ควรทำร่องสำหรับหยอดเมล็ดโดยให้แต่ละร่องห่างกัน 70-75 เซนติเมตร และให้หลุมปลูกในร่องห่างกัน 25-30 เซนติเมตร หยอดหลุมละ 2 เมล็ด แล้วกลบดินโดยให้เมล็ดอยู่ลึก 5-8 เซนติเมตร เมื่อพืชงอกได้ 10 วัน หรือมีใบจริง 2-4 คู่ให้ถอนแยกเหลือไว้เฉพาะต้นที่แข็งแรงเพียงหลุมละ 1 ต้น และถ้าหากดินมีความชื้นต่ำควรใช้ระยะปลูกกว้างขึ้น
การยกร่องนี้ เพื่อเป็นการสะดวกในการให้น้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปลูกในฤดูแล้งที่ต้องการน้ำมาก ส่วนการปลูกในฤดูฝน ถ้าเป็นดินที่มีการระบายน้ำดีก็ไม่จำเป็นต้องยกร่องและใช้ระยะปลูกเช่นเดียวกับยกร่อง
การปลูกวิธีนี้ ต้องใช้เมล็ดพันธุ์ลูกผสมจำนวน 0.7 กิโลกรัมต่อไร่ และปลูกตามระยะที่แนะนำนี้จะได้จำนวนต้น 6,400-8,500 ต้นต่อไร่

การใส่ปุ๋ย
ทานตะวันเป็นพืชที่ให้โปรตีน และแร่ธาตุสูง จึงควรใส่ปุ๋ยในปริมาณที่พืชต้องการตามสภาพดินที่ปลูกด้วยสำหรับปุ๋ยเคมีที่เหมาะสมที่แนะนำคือสูตร 15-15-15 หรือ 16-16-8 อัตรา 30-50 กิโลกรัมต่อไร่ โดยใส่รองพื้นพร้อมปลูกและใช้ปุ๋ยยูเรีย 46-0-0 อัตรา 20-30 กิโลกรัมต่อไร่ เมื่อทานตะวันอายุได้ 30 วัน หรือมีใบจริง 6-7 คู่ ซึ่งเป็นระยะกำลังจะออกดอก หากมีการตรวจวิเคราะห์ดินก่อนปลูก จะช่วยให้การใช้ปุ๋ยมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นและในกรณีที่เป็นดินทรายและขาดธาตุโบรอน ควรใส่ผงโบแรกซ์ประมาณ 2 กิโลกรัมต่อไร่ จะทำให้เพิ่มผลผลิตได้มากและทำให้คุณภาพของเมล็ดทานตะวันดีขึ้น


การให้น้ำทานตะวัน
น้ำเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีผลกระทบต่อการผลิตทานตะวัน หากความชื้นในดินมีน้อยก็จะทำให้ผลผลิตลดลงด้วย การให้น้ำที่เหมาะสมแก่ทานตะวันจึงจะทำให้ได้รับผลผลิตดีด้วย ดังนั้นการให้น้ำควรปฏิบัติดังนี้
ครั้งที่ 1 หลังจากปลูกเสร็จแล้วรีบให้น้ำทันที หรือควรทำการปลูกทันที หลังฝนตกเพื่อใช้ความชื้นในดินให้เต็มที่โดยไม่ต้องรดน้ำ
ครั้งที่ 2 ระยะมีใบจริง 2 คู่ หรือประมาณ 10-15 วัน หลังงอก
ครั้งที่ 3 ระยะเริ่มมีตาดอก หรือประมาณ 30-35 วัน หลังงอก
ครั้งที่ 4 ระยะดอกเริ่มบาน หรือประมาณ 50-55 วัน หลังงอก
ครั้งที่ 5 ระยะกำลังติดเมล็ด หรือประมาณ 60-70 วัน หลังงอก การให้น้ำควรให้น้ำอย่างเพียงพอให้ดินชุ่ม แต่ไม่ต้องถึงกับแฉะและน้ำขังการให้น้ำควรคำนึงถึงความชุ่มชื้นในดินด้วย ไม่ควรปล่อยให้ดินแห้งมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงแรกของการเจริญเติบโตจนถึงระยะติดเมล็ด


การกำจัดวัชพืช
ควรกำจัดวัชพืชอย่างน้อย 2 ครั้ง ครั้งแรกเมื่อทานตะวันมีใบจริง 2-4 คู่ ซึ่งการทำรุ่นครั้งแรกนี้ ทำพร้อมกับการถอนแยกต้นพืชให้เหลือ 1 ต้นต่อหลุม เป็นการสะดวกสำหรับเกษตรกรในการปฏิบัติ และครั้งที่สองทำพร้อมกับการใส่ปุ๋ยครั้งที่สอง เมื่อทานตะวันมีใบจริง 6-7 คู่ ทำรุ่นพร้อมกับใส่ปุ๋ยและพูนโคนต้นไปด้วย
ในแปลงที่มีปัญหาวัชพืชขึ้นรบกวน ควรทำการกำจัดวัชพืชเพื่อป้องกันการแย่งอาหารและความชื้นในดิน ตั้งแต่ต้นยังเล็กหรือใช้สารเคมีคุมกำเนิดหรือใช้สารเคมีคุมกำเนิดพวกอะลาคลอร์ หรือเมโธลาคลอร์ฉีดพ่นหลังหยอดเมล็ดก่อนที่จะงอกในอัตรา 300-400 ซีซี ผสมน้ำ 4 ปิ๊บ
สำหรับฉีดพ่นในเนื้อที่ปลูก 1 ไร่ โดยฉีดให้สม่ำเสมอกันสามารถคุมการเกิดวัชพืชได้นานถึง 2 เดือน และควรใช้แรงงานคน สัตว์ หรือเครื่องทุ่นแรง ทำรุ่นได้ตามความจำเป็น
ข้อควรระวังห้ามใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชอะทราซีนในทานตะวันโดยเด็ดขาด


การเก็บเกี่ยว


ทานตะวันจะมีอายุการเก็บเกี่ยวแตกต่างกันไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพันธุ์ที่ปลูก (พันธุ์ลูกผสม อายุเก็บเกี่ยว 90-100 วัน) วิธีการเก็บเกี่ยวนั้นให้สังเกตจากด้านหลังของจานดอกจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองซึ่งเป็นช่วงการสร้างน้ำมันในเมล็ดจะเริ่มลดลง และจะหยุดสร้างน้ำมันเมื่อจานดอกเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลก็เริ่มเก็บเกี่ยวได้ หลังจากนั้นให้นำไปผึ่งแดดจัด ๆ 1-2 แดด โดยแขวนให้หัวห้อยลงและหมั่นกลับช่อดอก เพื่อให้ดอกแห้งอย่างสม่ำเสมอ ถ้าเก็บเกี่ยวในช่วงที่ยังมีฝนชุกให้นำมาผึ่งในร่มหลาย ๆ วันจนแห้งสนิท แล้วจึงรวบรวมไปนวด อาจใช้แรงคนหรือสัตว์ หรือใช้เครื่องนวดเมล็ดถั่วเหลืองหรือถั่วลิสงก็ได้ เสร็จแล้วนำไปทำความสะอาดแล้วเก็บไว้ในยุ้งฉางที่ป้องกันแดด-ฝน และแมลงศัตรูได้ เพื่อรอจำหน่าย (ความชื้นของเมล็ดที่จะเก็บรักษาไว้ ควรไม่เกิน 10%)
การให้ผลผลิต

การปลูกทานตะวันในพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ มีการบำรุงรักษาดีจะให้ผลผลิตไม่ต่ำกว่า 300 กิโลกรัมต่อไร่ แต่โดยเฉลี่ยประมาณไม่ต่ำกว่า 200 กิโลกรัมต่อไร

ดอกมะลิ

ชื่อสามัญ Sambac

ชื่อวิทยาศาสตร์ Jasminum sambac. , Jusminum adenophyllum.

ตระกูล OLEACEAE

ลักษณะทั่วไป

ุ์มะลิเป็นพรรณไม้ยืนต้น และเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก จนถึงขนาดกลางบางชนิดก็มีลำต้นแบบเถาเลื้อย ลำต้นมีความสูงประมาณ1-3 เมตร ผิวเปลือกลำต้นสีขาวมีสะเก็ดรอยแตกเล็กน้อย ลำต้นเล็กกลมแตกกิ่งก้านสาขาไปรอบ ๆ ลำต้น ใบเป็นใบเดียวแตกใบเรียงกันเป็นคู่ ๆ ามก้านและกิ่งลักษณะของใบมนป้อม โคนใบสอบเรียว ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบเป็นมันสีเขียวเข้ม ขนาดใบกว้างประมาณ 2-3 เซนติเมตร ยาวประมาณ 3-5 เซนติเมตร ออกดอกเป็นช่อ ออกตามส่วนยอดหรือตามง่ามใบดอกเล็กสีขาวมีกลีบดอกประมาณ 6-8 กลีบ เรียงกันเป็นวงกลมหรือซ้อนกันเป็นชั้นแล้วแต่ชนิดพันธุ์ ขนาดดอกบานเต็มที่ประมาณ 2-3 เซนติเมตรผลเป็นรูปกลมรีเล็กเมื่อสุกจะมีสีดำภายในมีเมล็ดอยู่1เมล็ดนอกจากนี้ลักษณะของลำต้นและดอกแตกต่างกันไปตามชนิดพันธ์

พันธ์ดอกมะลิ



มะลิลา เป็นไม้รอเลื้อย กิ่งอ่อนและกิ่งกึ่งแก่กึ่งอ่อนมีขน ใบเป็นใบเดียวออกเป็นคู่ตรงกันข้ามกัน ใบเป็นรูปไข่ขอบเรียบ ดอกออกเป็นช่อ มี 3 ดอก ดอกกลางบานก่อน กลีบดอกชั้นเดียว ปลายกลีบมน ดอกสีขาว มะลิชนิดนี้ จะใช้ในการเด็ดดอกขาย



มะลิลาซ้อน เป็นไม้พุ่มเลื้อย สูง 1-2 เมตร แตกกิ่งตำใต้ผิวดินจำนวนมาก เป็นพุ่มแน่น ปลายกิ่งตั้งขึ้น กิ่งเปราะ ใบเป็นใบเดี่ยว มักมี 3 ใบต่อหนึ่งข้อ เรียงตรงข้ามร ใบรูปไข่กลับ ปลายใบแหลม สีเขียวเข้ม ดอกเป็นดอกเดี่ยวหรือดอกช่อ 1-3 ดอก สีขาว ออกที่ปลายกิ่ง โคนกลีบดอกติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็นกลีบจำนวนมาก ขอบกลีบเป็นคลื่น เมื่อบานเส้นผ่าศูนย์กลาง 3- 4 เซนติเมตร ดอกบานอยู่ได้หลายวัน มีกลิ่นหอมตลอดทั้งกลางวันและกลางคืน ออกดอกตลอดปี



มะลิถอด ลักษณะโดยทั่ว ๆ ไป ทั้งต้น ใบ การจัดเรียงของใบ รูปแบบของใบคล้ายมะลิลาซ้อน แต่ใบเป็นคลื่น ดอกเป็นช่อมี 3 ดอก ดอกซ้อนมากชั้นกว่า คือ 3-6 ชั้น ดอกสีขาว มีกลิ่นหอมมาก ขนาดดอก 2.5-3.5 ซม.



มะลิซ้อน เป็นไม้พุ่มเลื้อย สูง 1-2 เมตร แตกกิ่งตำใต้ผิวดินจำนวนมาก เป็นพุ่มแน่น ปลายกิ่งตั้งขึ้น กิ่งเปราะ ใบเป็นใบเดี่ยว มักมี 3 ใบต่อหนึ่งข้อ เรียงตรงข้ามร ใบรูปไข่กลับ ปลายใบแหลม สีเขียวเข้ม ดอกเป็นดอกเดี่ยวหรือดอกช่อ 1-3 ดอก สีขาว ออกที่ปลายกิ่ง โคนกลีบดอกติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็นกลีบจำนวนมาก ขอบกลีบเป็นคลื่น เมื่อบานเส้นผ่าศูนย์กลาง 3- 4 เซนติเมตร ดอกบานอยู่ได้หลายวัน มีกลิ่นหอมตลอดทั้งกลางวันและกลางคืน ออกดอกตลอดปี



มะลิพิกุล หรือมะลิฉัตร ลักษณะต่าง ๆ คล้ายกับ 4 ชนิดแรก ใบคล้ายมะลิซ้อนและมีคลื่นเล็กน้อย ดอกเป็นช่อ 3 ดอกดอกซ้อนเป็นชั้น ๆ เห็นได้ชัด (คล้ายฉัตร) และดอกมีขนาดเล็กพอ ๆ กับดอกพิกุล ขนาดดอก 1-1.4 ซม. ดอกสีขาว กลิ่นหอม



มะลิทะเล เป็นไม้รอเลื้อย ดอกเป็นกระจุก ๆ หนึ่ง มี 5-6 ดอก กลิ่นหอมฉุน



มะลุลี มะลุลีเป็นพันธุ์ไม้สกุลเดียวกับมะลิอีกชนิดหนึ่งที่มีดอกหอม มีชื่อเรียกหลายชื่อ เช่น มะลิพวง มะลิเลื้อย มะลิซ่อม เป็นไม้รอเลื้อยกระจายพันธุ์อยู่ในเขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กิ่งอ่อนและกิ่งกึ่งแก่กึ่งอ่อนมีขนเห็นเด่นชัดเช่นกัน ใบและรูปแบบตลอดจนการจัดเรียง คล้ายมะลิอื่น ๆ แต่ใบมีขนเห็นเด่นชัด เป็นใบเดี่ยว รูปไข่ ปลายใบแหลม ใบดกมาก จะออกดอกมากเป็นพิเศษประมาณ เดือนกุมภาพันธ์ จึงปลูกคลุมซุ้มไม้ได้ดี ดอกเป็นช่อ แน่นตามปลายกิ่งและซอกใบ มีสีขาว แต่ละช่อมีมากกว่า 10 ดอกขึ้นไป จึงเห็นเป็นช่อใหญ่สวยงาม มีขนนุ่มๆ โดยเฉพาะที่กลีบเลี้ยงซึ่งเป็นแฉกแหลมๆ ลักษณะของดอกคล้ายมะลิลา แต่กลีบแคบยาวและปลายแหลมกว่า ขนาด เส้นผ่านศูนย์กลางดอก 2.5-3 ซม. ใช้ทั้งช่อเป็นดอกไม้บูชาพระ กลิ่นหอมตลอดทั้งกลางวันและกลางคืน คล้ายกลิ่นมะลิวัลย์




มะลิเลื้อย ลำต้นเลื้อยไปตามพื้นดินยาวประมาณ 1 ฟุต ใบเล็กกว่าพันธุ์อื่นมาก



มะลิวัลย์หรือมะลิป่า เป็นไม้เลื้อย ลำเถาเล็กเกลี้ยง ใบเดี่ยว รูปรี ปลายแหลม ออกเป็นคู่ตรงกันข้าม ดอกเป็นช่อเล็กเพียง 1-2 ดอก ตรงซอกใบ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางดอก 2-3 ซม. กลีบแคบและเรียวแหลม ดอกมีกลิ่นหอมแต่ร่วงเร็ว ขยายพันธุ์โดยการตอนกิ่ง หรือปักชำกิ่ง ปลูกตามซุ้ม หรือพันรั้วก็ได้ มะลิวัลย์ชนิดนี้มีลำเถายาวและเลื้อยพันได้เป็นระยะทางไกลๆ แต่ดอกไม่ดก จึงไม่เป็นที่สะดุดตาเหมือนมะลิป่าชนิดอื่นๆ



พุทธิชาติ เป็นไม้รอเลื้อย ใบเป็นใบเดี่ยวแต่ใบด้านล่างลดขนาดลงมากจนมีลักษณะคล้ายหูใบ ดอกเป็นช่อ ออกที่ปลายกิ่งและข้างกิ่ง ดอกสีขาว ปลายกลีบมน ก้านดอกยาว



ปันหยี ต้นเป็นไม้เลื้อยเช่นเดียวกับมะลิวัลย์ ใบเดี่ยว การออกของใบเช่นเดียวกันแต่ใบมีขนาดใหญ่กว่า ใบเป็นมันสีเขียวเข้มหนาและแข็ง ดอกเป็นดอกช่อ สีขาวกลีบดอกใหย่กว่ามะลิวัลย์ กลีบดอกกว้างและมน ดอกชั้นเดียว ขนาดดอก 4-4.5 ซม. กลิ่นไม่หอม

เครือไส้ไก่ ไม้เถา ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม ใบรูปรีหรือรูปไข่ ปลายใบแหลม โคนใบมนหรือกลม ดอกช่อแบบช่อแยกแขนง กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันปลายแยกเป็น 5 แฉก กลีบดอก โคนเชื่อมติดกันเป็นหลอดปลายแยกเป็น 5 แฉก สีขาว มีกลิ่นหอม ผลสด รูปทรงกลมหรือรี ผลสุกสีดำ



อ้อยแสนสวย เป็นไม้เลื้อย กิ่งอ่อนสีม่วงแดง ไม่มีขน กิ่งแก่สีน้ำตาล ใบเดี่ยว ขนาดใหญ่ก้านใบสีม่วง ดอกออกเป็นช่อมี 8 ดอก ดอกกลางบานก่อน ก้านดอกยาว กลีบดอกขาว ชั้นเดียวปลายกลีบมน



มะลิเขี้ยวงูเป็นไม้เลื้อย แตกกิ่งก้านมาก ไม่มีขน ใบออกเป็นช่อคล้ายใบแก้ว แต่บางกว่า ดอกออกเป็นช่อมี 3 ดอก ก้านดอกเป็นหลอดสีแดงอมม่วง กลีบดอกขาว กลิ่นหอมจัด

ประโยชน์

มะลินอกจากจะเก็บดอกมาร้อยเป็นพวงมาลัย ทำเป็นดอกไม้แห้ง หรือนำมาสกัดทำน้ำมันหอมระเหยแล้ว ยังสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง และในดอกมะลิมีส่วนที่เป็นน้ำมันอยู่ 0.2-0.3% ดอกมีรสเผ็ด หวาน ฤทธิ์อุ่น ส่วนรากมีรสขม ฤทธิ์อุ่น มีพิษ
ดอก มีสรรพคุณแก้อาการท้องร่วง ตาแดง
ราก เป็นยาแก้ปวด ทำให้ชา ฟันผุ ฟกช้ำ นอนไม่หลับ

สรรพคุณ

เยื่อตาขาวอักเสบ หรือตาแดง : ดอกมะลิสดล้างให้สะอาด ต้มจนเดือด สักครู่ นำน้ำที่ได้ใช้ล้างตา

ปวดกระดูก ปวดกล้ามเอ็น : รากมะลิสดทุบให้แหลกคั่วกับเหล้าจนร้อน ใช้พอกบริเวณที่ปวด

ปวดฟันผุ : รากมะลิตากแห้งบดเป็นผง ผสมกับไข่แดงที่ต้มสุกแล้วจนได้ยาเหนียวข้น ใส่ในรูฟันผุ

ข้อควรระวังอย่างหนึ่งคือ รากมะลิมีพิษ ไม่ควรใช้รับประทานหรืออาจใช้แต่น้อย เช่น ใช้รากมะลิสดไม่เกิน 1.5 กรัม ฝนกับน้ำใช้ดื่มแก้อาการนอนไม่หลับ

มะลิซ้อน ดอกสด ใช้รักษาโรคตาเจ็บ แก้ไข้ตัวร้อน แก้หวัด
ดอกแห้ง ใช้ปรุงเป็นสารแต่งกลิ่น
ใบสด นำมาตำให้ละเอียดจะช่วยรักษาแผลพุพองและแผลฝีดาษ
ต้น ใช้รักษาโรคคุดทะราด ขับเสมหะและนำมาฝนใช้แก้ปวด รักษาโรคร้อนในและอาการเสียดท้องหิต
ราก นำมาฝนใช้แก้ปวด รักษาโรคร้อนในและอาการเสียดท้อง
มะลิวัลย์ ราก ใช้เป็นยาถอนพิษต่าง ๆ ได้

ดอกไม้คือความหมาย

ดอกไม้คือความหมาย
หากเพื่อนๆ คิดจะมอบดอกไม้ให้กับใครสักคน คงเคยเลือกตามความชอบของตนเองบ้าง หรือตามที่เห็นว่าสวยถูกใจบ้าง หรือไม่ก็ตามความชอบของผู้รับบ้าง แต่เจ้าบุญทุ่มบางคนก็อาจเลือกแพงๆ เข้าไว้ (เพราะกลัวว่าเลือกที่ราคาถูกๆ จะดูเหมือนไม่มีรสนิยม) ไม่ก็...จะถูกจะแพงเอาแดงไว้ก่อน (แม่สอนไว้) แต่ต่อไปนี้นอกจากความชอบ ความสวย ความแพง แล้ว ลองเลือกตามความหมายของดอกไม้ด้วย เพื่อสื่อความนัยจากใจของเพื่อนให้เขา(หรือเธอ)ได้รับรู้ด้วย คงจะง่ายกว่าการใช้วาจาอย่างแน่นอน หรือถ้ามอบดอกไม้แล้วกล่าวคำตามความหมายที่เราเอามาฝากนี้ด้วยแล้ว โครงการ “คูณสอง” ของเพื่อนๆ ต้องประสบผลสำเร็จแน่ๆ เลย ฮิ.ฮิ

กุหลาบ
1 กุหลาบแดงและขาวรวมกัน สื่อความหมายให้รู้ว่า "สองเราเป็นหนึ่งเดียวกัน"
2 กุหลาบสีชมพู หมายถึง ความงดงามและความอ่อนโยน
3 กุหลาบสีเหลือง บอกเป็นนัยว่า "ขอเป็นชู้ทางใจ" หรือ หมายถึงความสุข สนุกสนาน ร่าเริง
4 กุหลาบสีส้ม เพื่อบอกความในใจถึงความรักและสิ่งที่ผ่านมา
5 กุหลาบแดงเข้ม(สีเหมือนไวน์แดง) แทนคำว่า "เธอช่างสวยเหลือเกิน"
6 กุหลาบสีขาว บอกว่า "ฉันรักเธอด้วยใจบริสุทธิ์ ไม่หวังสิ่งใดตอบแทน"
7 กุหลาบตูม ที่มีทั้งใบและหนาม บอกให้รู้ว่า "แม้ฉันจะวิตกอยู่บ้าง แต่รู้ว่าเธอคงไม่ปฏิเสธ"
8 กุหลาบตูมที่ลิดใบทิ้งหมด แสดงให้เห็นว่าผู้ให้รู้สึกทุกสิ่งทุกอย่าน่ากลัวไปหมด
9 กุหลาบตูมที่ลิดหนามทิ้งหมด แสดงให้เห็นถึงความหวังที่มีอย่างเปี่ยมล้น
10 กุหลาบตูมสีแดง แสดงให้เห็นถึงความรักที่ไร้เดียงสา "รักของฉันเพิ่งแรกแย้ม และอ่อนต่อโลก"
11 กุหลาบตูมสีขาว แสดงถึงความมีเสน่ห์น่าหลงใหล ไร้เดียงสาในเรื่องความรัก
12 กุหลาบบานหนึ่งดอก และกุหลาบตูม 2 ดอก อยากบอกว่า "นี่คือความรักที่ฉันแอบซ่อนไว้"
13 กุหลาบบานสีแดง บอกให้รู้ว่า "ฉันรักเธอเข้าแล้ว"
14 กุหลาบสีแดงที่โรยแล้ว เขาอยากจะบอกให้คุณรู้ว่า "ความรักของเรานั้นจบลงแล้ว"
15 กุหลาบสีขาวที่โรยแล้ว แทนความหมาย "เสน่ห์ของเธอมันจืดจางลงแล้ว"
16 กุหลาบไร้หนาม ให้รู้ว่า "เธอช่างมีเสน่ห์น่าหลงใหลแม้ยามแรกพบ"
17 กุหลาบดอกเดียวแทนความหมาย "รักฉันแม้เรียบง่าย แต่ก็มั่นคงกับเธอผู้เดียว"

พันธุ์ของดอกกุหลาบ

พันธุ์ของดอกกุหลาบ
กุหลาบที่ปลูกในประเทศไทยปัจจุบันนี้มีอยู่ด้วยกันหลายประเภทซึ่งถ้า แบ่งออกจะได้ดังนี้

1. กุหลาบตัดดอกหรือไฮบริดที (Hybrid Tea หรือ HT)J ปกติมัก ออกดอกเป็นดอกเดี่ยว
มีขนาดโตกลีบดอกซ้อน พุ่มต้นตั้งตรงสูงประมาณ 1-2 เมตร กุหลาบที่มีขายทั่วไปตามท้องตลาด
ขณะนี้มักจะเป็นกุหลาบประเภทนี้ อย่างไร ก็ตาม พันธุ์ ไฮบริดที นั้น มิได้ใช้บลูกเป็นไม้ตัดดอกได้ดี
ทุกพันธุ์ ดังนั้น จำเป็นต้องคัดเลือกพันธุ์ให้เหมาะสมสำหรับแต่ละท้องที่

ปัจจุบันกุหลาบที่นิยมปลูกเป็นไม้ตัดดอกในประเทศไทยมีอยู่มากมายหลายพันธุ์
พันธุ์ที่กรมส่งเสริมการเกษตรแนะนำให้ปลูกมีดังนี้

พันธุ์ดอกสีแดง ได้แก่ พันธุ์บราโว. เรดมาสเตอร์พีช, คริสเตียนดิออร์, โอลิมเปียด, นอริค้า, แกรนด์มาสเตอร์พีช,
ปาปามิลแลนด์, เวก้า

พันธุ์ดอกสีเหลือง ได้แก่ พันธุ์คิงส์แรนซัม, ซันคิงส์, เฮสมุดสมิดท์,นิวเดย์ โอรีโกลด์ และเมลิลอน

พันธุ์ดอกสีส้ม ได้แก่ พันธุ์ซันดาวน์เนอร์, แซนดรา, ซุปเปอร์สตาร์หรือทรอพปิคานา

พันธุ์ดอกสีชมพู ได้แก่ พันธุ์มิสออลอเมริกาบิวตี้ หรือมาเรีย, คาสลาส, ไอเฟลทาวเวอร์, สวาทมอร์, เฟรนด์ชิพ,
เพอร์ฟูมดีไลท์, จูวังแซล, เฟิร์สท์ไพรซ์, อเควเรียส, ซูซานแฮมเชียร์

พันธุ์ดอกสีขาว ได้แก่ พันธุ์ไวท์คริสต์มาส เอทีนา

พันธุ์ดอกสีอื่นๆ ได้แก่ พันธุ์แยงกี้ดูเดิ้ล, ดับเบิ้ลดีไลท์, เบลแอนจ์

นอกจากนี้ยังมีกุหลาบสำหรับเด็ดดอกร้อยพวงมาลัย เช่น กุหลาบพันธุ์ฟูซิเลียร์ ซึ่งมีดอกสีส้ม


2. กุหลาบพวง หรือ ฟลอริบันด้า ( Foribunda หรือ F.) กุหลาบพวงมีความแข็งแรง
ทนทานกว่ากุหลาบตัดดอก ออกดอกดกแต่ดอกไม่ใหญ่เท่ากับกุหลาบตัดดอกแต่มีครบทุกสี
และออกดอกเป็นช่อทีละหลาย ๆ ดอก จึงนิยมเรียกว่ากุหลาบพวง และมักบานพร้อมกัน
ดอกมีขนาดเล็ก พุ่มต้นตั้งตรงสูง ประมาณครึ่งเมตรถึง 1 เมตรเหมาะสมที่จะปลูกในแปลง
ประดับและในกระถางเช่น พันธุ์ฟูซีเลียร์, พันธุ์แองเจลเฟส


3. ประเภทแกรนดิฟลอร่า (Grandiflora หรือ Gr. ) กุหลาบประเภทนี้เป็นกุหลาบลูกผสมระหว่างกุหลาบตัดดอก
และกุหลาบพวง มีลักษณะเป็นดอกเดี่ยว แต่ดอกเล็กกว่ากุหลาบตัดดอก มีก้านยาว ต้นโต สูง และแข็งแรง เช่ น พันธุ์คาเมล็อท,
พันธุ์คาเสทไนท์


4. กุหลาบ หรือ มินิเอเจอร์ (Miniature หรือ Min.) เป็นกุหลาบที่มีขนาดพุ่มต้นเล็ก สูง 1- 2 ฟุต ออกดอกเป็นพวง
และดอกมีขนาดเล็ก นิยมปลูกประดับแปลง และใช้เป็นไม้กระถาง เช่น พันธุ์เบบี้ มาสเคอร์เหรด


5. กุหลาบเลื้อย หรือ ไคลมเบอร์ (Climher หรือ Cl.) กุหลาบชนิดนี้ลำต้นสูงตรง
นำไปเลื้อยพันกับสิ่งต่าง ๆ ได้ดอกมีทั้งเป็นดอกขนาดใหญ่ และดอกเป็นพวง เช่น พันธุ์ดอนจวน,
พันธุ์ค็อกเทล


6. ประเภทโพลีแอนท่า (Polyantha หรือ Pol.) เป็นกุหลาบลูกผสมระหว่างพันธุ์โรซ่า
มัลติฟอร่า กับ โรซ่า ไชเนนซิสมีขนาดพุ่มต้นเตี้ย แข็งแรงและทนทานมาก ออกดอกเป็นพวงคล้าย
กุหลาบพวง ลักษณะดอกและต้นคล้ายกุหลาบหนูแต่จะแตกต่างกับกุหลาบหนูตรงที่กุหลาบโพลีแอนท่าจะมีหูใบที่มีลักษณะของ
พันธุโรซ่า มัลติฟลอร่า กุหลาบประเภทนี้ เช่น พันธุ์วายวอน ราเบีย


7. ประเภทแรมเบลอร์ (Rambler หรือ R) มีลำต้นยาวและอ่อนโค้งออกดอกเป็นพวง และดอกมีขนาดเล็ก
เช่น พันธ์ไดโรที เปอร์กิน


8. กุหลาบพุ่ม หรือซรับโรส (Shrub หรือ S.) ได้แก่กุหลาบพันธุ์ป่าหรือลูกผสมของพันธุ์ป่า ซึ่งมีทรงต้นเป็นพุ่ม
ออกดอกเป็นช่อ ดอกมีขนาดเล็กส่วนมากมีกลีบชั้นเดียว เช่น พันธ์โรซ่า นิติด้า, โรซ่า มัลติฟลอร่า, โรซ่า รูโกซ่า

ดิน

ดิน หมายถึง วัตถุที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติจากการสลายตัวทางกายภาพ และทางเคมีของหินและแร่ รวมกับสารอินทรีย์ ที่เกิดจากการสลายตัวของซากพืชซากสัตว์เป็นผิวชั้นบนที่หุ้มห่อโลก ซึ่งดินจะมีลักษณะและคุณสมบัติต่างกันไปในที่ต่างๆ ตามสภาพภูมิอากาศ ภูมิประเทศ วัตถุต้นกำเนิด สิ่งมีชีวิตและระยะเวลาการสร้างตัวของดิน

ประเภทของดินดินเหนียว เป็นดินที่มีเนื้อละเอียด ในสภาพดินแห้งจะแตกออกเป็นก้อนแข็งมาก เมื่อเปียกน้ำแล้วจะมีความยืดหยุ่น สามารถปั้นเป็นก้อนหรือคลึงเป็นเส้นยาวได้ เหนียวเหนอะหนะติดมือ เป็นดินที่มีการระบายน้ำและอากาศไม่ดี แต่สามารถอุ้มน้ำ ดูดยึด และแลกเปลี่ยนธาตุอาหารพืชได้ดี เหมาะที่จะใช้ทำนาปลูกข้าวเพราะเก็บน้ำได้นาน

ดินร่วน เป็นดินที่เนื้อดินค่อนข้างละเอียดนุ่มมือในสภาพดินแห้งจะจับกันเป็นก้อนแข็งพอประมาณ ในสภาพดินชื้นจะยืดหยุ่นได้บ้าง เมื่อสัมผัสหรือคลึงดินจะรู้สึกนุ่มมือแต่อาจจะรู้สึกสากมืออยู่บ้างเล็กน้อย เมื่อกำดินให้แน่นในฝ่ามือแล้วคลายมือออก ดินจะจับกันเป็นก้อนไม่แตกออกจากกัน เป็นดินที่มีการระบายน้ำได้ดีปานกลาง จัดเป็นเนื้อดินที่มีความเหมาะสมสำหรับการเพาะปลูก

ดินทราย เป็นดินที่มีอนุภาคขนาดทรายเป็นองค์ประกอบอยู่มากกว่าร้อยละ 85 เนื้อดินมีการเกาะตัวกันหลวมๆ มองเห็นเป็นเม็ดเดี่ยวๆ ได้ ถ้าสัมผัสดินที่อยู่ในสภาพแห้งจะรู้สึกสากมือ เมื่อลองกำดินที่แห้งนี้ไว้ในอุ้งมือแล้วคลายมือออกดินก็จะแตกออกจากกันได้ แต่ถ้ากำดินที่อยู่ในสภาพชื้นจะสามารถทำให้เป็นก้อนหลวมๆ ได้ แต่พอสัมผัสจะแตกออกจากกันทันที

วันอังคารที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2554

การขยายพันธุ์ต้นกุหลาบ

การขยายพันธุ์
ในการขยายพันธุ์กุหลาบเราสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การตัดชำ การติดตา การตอนกิ่ง และการเพาะเมล็ด บางครั้งเพื่อให้ได้ต้นกุหลาบที่มีรากแข็งแรง และให้ผลผลิตสูงเกษตรกรมักนิยมกุหลาบพันธุ์ดีที่ติดตาบนตอกุหลาบป่า

การตอนกิ่ง
วิธีนี้เป็นที่นิยมมาก เพราะทำได้ง่ายและเห็นผลเร็ว กิ่งที่เลือกต้องเป็นกิ่งที่สมบูรณ์ ไม่มีโรคหรือแมลงทำลาย ไม่อ่อนหรือแก่เกินไป คือสีเปลือกเขียวเข้มจนถึงน้ำตาลอ่อน เปลือกล่อนออกจากกิ่งได้ง่าย วิธีตอนที่นิยมทำคือ การตอนแบบหุ้มกิ่ง โดยใช้มีดคมๆ ควั่นเปลือกรอบกิ่ง 2 รอย ห่างกันประมาณ 2.5-3 ซม. ให้รอยควั่นด้านบนอยู่ใต้ตาเล็กน้อย กรีดตามยาวและลอกเอาเปลือกออก แล้วใช้สันมีดขูดเมือก ออกให้หมด จากนั้นนำขุยมะพร้าวที่แช่น้ำจนอิ่มตัวหุ้มตรงรอยควั่น นำถุงพลาสติกมาหุ้มทับอีกที แล้วมัดด้วยเชือกที่หัวท้ายให้แน่น กิ่งตอนจะเริ่มออกรากในเวลา 2-3 สัปดาห์


การติดตา
นิยมติดตาพันธุ์ดีบนต้นตอกุหลาบป่า ได้แก่ Rosa multiflora หรือ R.indical (R. chinensis) ซึ่งมี ความแข็งแรงและทนทาน ก่อนทำการติดตาต้องเตรียมต้นตอและเลือกตาพันธุ์ดีที่จะนำมาติด ควรเลือกต้นกุหลาบป่าที่กำลังเจริญเติบโต เปลือกล่อนจากเนื้อ ตาที่ใช้ควรเป็นตาจากกิ่งที่ดอกเริ่มเหี่ยวประมาณ ตาที่ 3-4 นับจากตาแรกที่อยู่ใกล้ดอกลงมาหรือเลือกจากกิ่งที่สมบูรณ์เต็มที่ โดยเลือกเอาตาที่นูนเด่นชัด วิธีการที่นิยมทำคือ การติดตาแบบตัวที (T-budding) โดยกรีดต้นตอตามทางยาวประมาณ 3-4 ซม. แล้วตัดขวางชิดกับรอยกรีดด้านบน ใช้มีดเผยอเปลือกตามรอยกรีดด้านบนออกทั้งสองข้าง จากนั้นใช้มีดเฉือนตาจากกิ่งพันธุ์ดีที่เตรียมไว้ให้เท่ากับแผลบนต้นตอ นำแผ่นตาสอดลงไปในแผลบนต้นตอ พันด้วยพลาสติกให้แน่น หลังจากติดตา 7-10 วัน ถ้าแผ่นตายังเป็นสีเขียวแสดงว่าการติดตาได้ผล การขยายพันธุ์ด้วยการติดตานี้ทำให้กุหลาบของเรามีดอกได้หลายสีในต้นเดียวกัน



การปักชำกิ่ง
วัสดุปักชำ ได้แก่ ทรายหยาบผสมกับขี้เถ้าแกลบ ในปริมาณเท่าๆ กัน กิ่งที่จะใช้ปักชำควรเป็นกิ่งที่มีดอกเริ่มแย้ม หรือกิ่งที่ดอกบานไปแล้วไม่ถึงหนึ่งสัปดาห์ ตัดให้มีความยาว 5-6 นิ้ว มีใบติด 3-5 ใบ ขึ้นไป ตัดแล้วนำไปจุ่มในน้ำก่อนนำไปปักชำ ช่วงเวลาในการตัดกิ่งควรเป็นตอนเช้าหรือตอนเย็น วิธีนี้นิยมใช้ขยายพันธุ์กุหลาบหนู

การเพาะเมล็ด
จะต้องให้เมล็ดผ่านอุณหภูมิต่ำชั่วระยะเวลาหนึ่งจึงจะงอก โดยธรรมชาติของกุหลาบจะติดเมล็ดในอากาศหนาวหรือเขตอบอุ่น เมล็ดจึ่งไม่สามารถงอกได้ทันทีที่อุณหภูมิห้องปกติ เมื่อนำเมล็ดกุหลาบไปเพาะในภาชนะที่ใส่วัสดุเพาะ เช่น ขุยมะพร้าวที่ชื้นคลุมด้วยถุงพลาสติกแล้ว จะต้องนำไปเพาะในตู้เย็นประมาณ 3-4 สัปดาห์ จะมีจำนวนเมล็ดงอกประมาณ 5 เปอร์เซ็นต์ แล้วจึงนำออกมาไว้ข้างนอก เมื่อต้นกล้างอกหมด แล้วจึงย้ายลงกระถางหรือถุงชำ

System software

1.ซอฟต์แวร์ระบบ (System software) แบ่งเป็น 3 ประเภท อะไรบ้าง
1 ระบบปฎิบัติการ
2 โปรแกรมแปลภาษา
3 โปรแกรมอรรถประโยชน์


2.ระบบปฎิบัติการ คือ....?
เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้สำหรับคอมคุมและประสานงานระหว่างอุปกรณ์ภายในคอมพิวเตอร์ทั้งหมด ตั้งแต่ซีพียู หน่วยความจำ ไปจนถึงหน่วยนำเข้าและหน่วยส่ง ออกนิยมเรียกว่า แพลตฟอร์ม คอมพิวเตอร์จะทำงานได้จำเป็นต้องมีระบบปฎิบัติการติดตั้งอยู่ในเครื่องเสียก่อน


3.ระบบปฎิบัติการมีความสำคัญอย่างไร
ถ้าหากไม่มีระบบปฎิบัติการจะไม่สามารถใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ได้


4.ระบบปฏิบัติการมีหน้าที่อย่างไร
1 การจองและการกำหนดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอรื
2 การจัดตารางงาน
3 การติดตามผลของระบบ
4 การทำงานหลานโปรแกรมพร้อมกัน
5 การจัดแบ่งเวลา
6 การประมวลผลหลายชุดพร้อมกัน


5.ตัวอย่างระบบปฎิบัติการที่สำคัญที่ควรรู้จัก 6 ชนิด
1 ระบบปฏิบัติการไมโครซอฟต์วินโดวส์
2 ระบบปฏิบัติการแมคอินทอช
3 ระบบปฏิบัติการลินุกซ์
4 ระบบปฏิบัติการวันโดวส์เซิร์ฟเวอร์
5 ระบบปฏิบัติการปาล์ม
6 ระบบปฏิบัติการซิมเบียน


6.แอนดรอยด์ (Android) คือ ...?
เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับอุปกรณ์พกพา เช่น โทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ เน็ตบุ๊ก


7.ios คือ อะไร
ระบบปฏิบัติการสำรับเราต์เตอร์ซิสโก

วันอังคารที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ซอฟต์แวร์

1.ซอฟต์แวร์หมายถึง?
ชุดคำสั้งหรือโปรแกรมที่คอยสั้งการให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงาน รวมไปถึงการคอบคุมการทำงานของอุปกรณ์แวดล้อมต่างๆ
เช่น CD ROM drive modem เป็นต้น ซอฟต์แวร์เป็นสิ่งที่มองไม่เห็นจับต้องไม่ได้ แต่สามารถรับรู้การทำงานของมันได้ ซึ่ง ต่างกับฮาร์แวร์ (hardware)ที่สามารถจะจับต้องได้ ซอฟต์แวร์เป็นศัพท์ที่มีความหมายกว้างขวางมาก บางครั้งอาจรวมถึงผลลัพธ์ต่างๆ เช่น ผลการพิมพ์ที่ได้จากเครื่องคอมพิวเตอร์เอกสารพัฒนาซอฟต์แวร์ ตลอดจนคู่มือการใช้ การสั่งงานใดๆให้เครื่อง คอมพิวเตอร์ทำงานตามต้องการนั้น ต้องอาศัยซอฟต์แวร์เป็นตัวเชื่อมระหว่างคนหรือผู้ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์

2.ซอฟต์แวร์แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่
ซอฟต์แวร์ระบบ
ซอฟต์แวร์ประยุกต์

3.ซอฟต์แวร์ ระบบ หมายถึง
ซอฟต์แวร์ที่บริษัทผู้ผลิตสร้างขึ้นเพื่อใช้จดการกับระบบหน้าที่การทำงานพื้นฐานต่างๆ ของระบบคอมพิวเตอร์

4.ซอฟต์แวร์ประยุกต์ หมายถึง
เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้กับงานด้านต่างๆ ตามความต้องการของผู้ใช้ ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้โดยตรง

วันอังคารที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ศูุนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาจังหวัดนครศรีธรรมราช

ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นสถานศึกษาสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการตั้งอยู่บริเวณวัดเขาขุนพนม หมู่ที่ 3 ตำบลบ้านเกาะ อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช



ศูนย์วิทยาศาสตร์มีบทบาทและหน้าที่ในการสนับสนุนการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อมโดยจัดในรูปแบบของนิทรรศการด้านวิทยาศาสตร์พื้นฐานทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดาราศาสตร์ และอวกาศ เทคโนโลยีการเกษตรฯ ฯลฯ โดยเน้นในเรื่องใกล้ตัว สัมผัสได้ เรียนรู้จากของจริง สร้างความสนุกสนาน ตื่นเต้นเร้าใจ และนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้


นอกจากนี้ยังได้จัดกิจกรรมการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ เช่น การจัดค่ายวิทยาศาสตร์ และสิ่งแวดล้อม การอบรมครูวิทยาศาสตร์ การจัดแสดงทางวิทยาศาสตร์ (Science Show)





ศูนย์วิทยาศาสตร์ฯ ได้พัฒนาค่ายมาโดยลำดับ ทั้งนี้ เนื่องจากศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาจังหวัดนครศรีธรรมราชมีปัจจัยที่เหมาะสมในการจัดค่ายหลายประการ เช่น
1. ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาจังหวัดนครศรีธรรมราช ตั้งอยู่บริเวณเขาขุนพนมที่เหมาะสมต่อการศึกษาธรรมชาติ ความหลากหลายทางชีวภาพของพืชนานาพันธุ์
2. ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาจังหวัดนครศรีธรรมราช มีนิทรรศการถาวรด้านวิทยาศาสตร์ที่สมบูรณ์หลากหลาย
3. ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาจังหวัดนครศรีธรรมราช ตั้งบริเวณชุมชนเขาขุนพนม ซึ่งมีอาชีพเกษตรกรรมจะได้เรียนรู้วิถีชีวิตของชุมชนการประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์ในชีวิตประจำวัน
4. ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาจังหวัดนครศรีธรรมราช เหมาะต่อการศึกษาธรรมชาติ เช่น กลางคืนดูดาว เพราะ กลางคืนมืดสนิท เช้าดูนกรอบเขาขุนพนม มีนก และ สัตว์อื่นๆ อีกมากมาย ตอนกลางวันศึกษาหินของเขาขุนพนม
5. ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาจังหวัดนครศรีธรรมราชมีมัคคุเทศก์อาสา ที่เกิดจากชมรมของ ททท. เพื่อบริการและจัดการค่าย เป็นการระดมทรัพยากรของท้องถิ่น ภูมิปัญญาชาวบ้านมาจัดการค่าย
6. ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาจังหวัดนครศรีธรรมราช ตั้งอยู่ในบริเวณอุทยานการศึกษาฯ จึงมีสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐานครบครัน มีความปลอดภัยสูง
7. ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวของอำเภอพรหมคีรี สามารถเชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวอื่นๆ ได้สะดวก เช่น พระตำหนักเมืองนคร น้ำตกพรหมโลก น้ำตกอ้ายเขียว น้ำตกสองรัก น้ำตกกรุงชิง น้ำตกกะโรม


จุดประสงค์
ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาจังหวัดนครศรีธรรมราช เน้นจัดค่ายสำหรับนักเรียนทั่วไป โดยมีจุดประสงค์ดังนี้
1. เพื่อให้ผู้เรียนมีความเข้าใจหลักการทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติ สามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้
2. เพื่อให้ผู้เรียนใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการศึกษาค้นหาความรู้ด้วยตนเองอย่างเป็นระบบ
3. เพื่อให้ผู้เรียนมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เรียนรู้อย่างอิสระ
4. เพื่อให้ผู้เรียนรู้จักปรับตัวเองให้อยู่กับสังคมได้อย่างมีความสุขสามารถทำงานระบบกลุ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5. เพื่อให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์อย่างต่อเนื่อง และตลอดชีวิต
6. เพื่อให้ผู้เรียนมีเจตคติที่ดีต่อวิทยาศาสตร์ ให้เห็นว่าวิทยาศาสตร์ไม่ใช่เรื่องยาก ไม่ใช่เรื่องไกลตัว แต่วิทยาศาสตร์เป็นเรื่องง่าย เป็นเรื่องไกล้ตัวของทุกคน เกิดการเรียนวิทยาศาสตร์ด้วยความสนุก
7. เพื่อให้ผู้เรียนรู้จักแหล่งเรียนรู้และแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติของจังหวัดนครศรีธรรมราช

วัดพระธาตุ นครศรีธรรมราช

วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร หรือ ที่ชาวนครเรียกว่า วัดพระธาตุ โบราณสถานสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ และเป็น มิ่งขวัญชาวเมืองนครศรีธรรมราชตลอดจนพุทธศานิกชน ทั้งหลาย สัญลักษณ์ของจังหวัดนครศรีธรรมราชที่รู้จัก กันแพร่หลายก็คือ พระบรมธาตุเจดีย์ ซึ่งตั้งอยู่ภายในวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร เนื่องจากเป็นที่บรรจุ พระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า ปัจจุบันกรมศิลปากรได้ประกาศจดทะเบียนวัดพระมหาธาตุเป็นโบราณสถาน นับเป็นปูชนียสถานที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของภาคใต้พระบรมธาตุเจดีย์ เป็นเจดีย์สถาปัตยกรรมแบบล้านนา มีจุดเด่นที่ยอดเจดีย์ ซึ่งหุ้มด้วยทองคำแท้ จากความเชื่อ เล่าสืบตอบกันมาว่าองค์พระธาตุประกอบด้วยทองรูปพรรณและของมีค่ามากมายจรดปลายเจดีย์ ซึ่งสิ่งของมีค่า เหล่านี้พุทธศสานิกชนนำมาถวายแด่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเพื่อให้ตนได้พบกับนิพพาน จากคำขวัญประจำ จังหวัดเมืองประวัติศาสตร์ พระธาตุทองคำ ชื่นฉ่ำธรรมชาติ แร่ธาตุอุดม เครื่องถมสามกษัตริย์ มากวัดมากศิลป์ ครบสิ้นกุ้งปข้อความว่า พระธาตุทองคำ จึงหมายถึง ยอดเจดีย์ทองของพระบรมธาตุนั่นเอง และหากใครต้องการ ชมยอดพระธาตสีทองเหลืองอร่ามอย่างใกล้ชิด มีบริการกล้องส่องทางไกลให้ใช้บริการสนนราคาแล้ว แต่ตกลง กันว่าจะชื่นชมความงดงามนั้นนานเพียงใด ด้วยความมีชื่อเสียงและศักดิ์สิทธิ์ของพระบรมธาตุเจดีย์ ดึงดูดให้ผู้คน จากทั่วสารทิศแวะมากราบไหว้ขอพรคู่ไปกับ

พิธีปฏิบัติอีกอย่างหนึ่ง คือ การนำผ้าขึ้นธาตุ ตามตำนานเชื่อว่า หากใครได้นำผ้าขึ้นธาตุ และบนขอพรใน เรื่องใด จะขอให้หายเจ็บหายไข้ ขอให้ได้ลูก ขอเรื่องการงานการเรียน สิ่งนั้นก็จะเป็นจริงดังหวัง มีเรื่องเล่าว่า มีชายคน หนึ่งประสบอุบัติเหตุเดินไม่ได้ รักษาเท่าไหร่ก็ไม่หาย สุดท้ายพ่อแม่ไม่รู้จะทำอย่างไร จึงมาบนและนำผ้าขึ้นธาตุที่ พระบรมธาตุ ขอให้ลูกชายหายจากอาการป่วยและหากหายจะให้มาบวชที่วัดพระธาตุ ในไม่ช้าชายหนุ่มคนดังกล่าว ก็หายวันหายคืน จนกลับมาเดินได้เป็นปกติในทุกปีช่วงวันมาฆและวันวิสาขบูชา จะจัดงานแห่ผ้าขึ้นธาตุซึ่งถือเป็น งาน บุญประจำปีที่มีผู้คนจากทั่วสารทิศมาร่วมสร้างบุญกุศลที่ยิ่งใหญ่นี้ความ มหัศจรรย์อย่างหนึ่งของ องค์พระบรมธาตุ คือ องค์พระธาตุจะไม่มีเงาทอดลงพื้นไม่ว่าแสงอาทิตย์จะส่องกระทบไปทางใด ซึ่งยังไม่มี ใครหาคำตอบ ได้ว่าเป็นเพราะอะไร จากความมหัศจรรย์นี้ ท.ท.ท. จึงให้เจดีย์นี้เป็น 1 ใน unseen Thailand ของเมืองไทย

นอกจากพระบรมธาตุเแล้วเจดีย์องค์เล็กที่รายล้อมรอบองค์พระธาตุมากมายเป็นสิงที่แปลกตาแก่นักท่องเที่ยว ที่ได้พบเห็น เจดีย์นี้เรียกว่า องค์เจดีย์บริวาร ซึ่งมีทั้งหมด 149 องค์เจดีย์บริวาร คือ เจดีย์ที่ลูกหลานบรรพบุรุษ ได้สร้างไว้สืบต่อกัน มาเรื่อยๆเพื่อบรรจุอัฐิของญาติผู้ล่วงลับไปแล้วโดยอธิษฐานว่าขอให้ญาติของตนได้มาเกิด ในศาสนา ของพระพุทธองค์อีกครั้งในภพหน้า นอกจากความหัศจรรย์ของพระธาตุไร้เงาแล้ว เจดีย์บริวารที่ เรียงราย ล้อมรอบองค์พระบรมธาตุเป็นสิ่งมหัศจรรย์ซึ่งเราไม่ค่อยได้เห็นจากที่ใดเช่นกันยอดพระธาตุทองคำ ทางเดินขึ้นสักการะเจดีย์พระบรมธาตุ

นักท่องเที่ยวเดินวนรอบเจดีย์เพื่อเป็นศิริมงคล ผ้าขึ้นธาตุ


ประวัติวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารพระบรมธาตุจังหวัดนครศรีธรรมราชวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร เดิมเรียกว่า วัดพระบรมธาตุ เป็นวัดใหญ่ ตั้งอยู่ภายในเขตกำแพงเมืองโบราณ ค่อนมาทางทิศใต้ เนื้อที่ 25 ไร่ 2 งาน มีถนนราชดำเนินตัดผ่านหน้าวัด เข้าใจว่าเดิมคงเป็นถนนโบราณ ประวัติ การสร้างวัดไม่มีหลักฐานปรากฎแน่ชัดนอกจากประวัติจากตำนานที่กล่าวถึงการก่อสร้างพระมหาธาตุ ซึ่งเป็น เอกสารที่ี่เขียนขึ้นจากคำบอกเล่าภายหลังเหตุการณ์จริงเป็นเวลายาวนานมาก หลักฐานทางเอกสาร ที่ชัดเจน ปรากฏขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 6 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์กล่าวว่าวัดนี้เป็นวัดที่ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษา ต่อมาพระเจ้า บรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ายุคลฑิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ อุปราชปักษ์ใต้ทรงพระสงฆ์จากวัดเพชรจริก มาดูแล รักษาวัด และคราวที่รัชกาลที่ 6 เสด็จประพาสเมืองนคร ได้โปรดพระราชทานนามวัดว่า วัดพระมหาธาตุวรมหา วิหารประวัติ จากตำนานที่เล่าเรื่องการก่อสร้างพระบรมธาตุมีหลายสำนวนสามารถประมวล เนื้อหาได้ว่า เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน เมืองต่าง ๆ ในแว่นแคว้นชมพูทวีปได้แบ่งพระบรมสารีริกธาตุไปเก็บ รักษา เคารพบูชา มีเมืองหนึ่งชื่อเมืองทนธบุรี ได้พระทันตธาตุมาเก็บรักษาไว้ ต่อมามีกษัตริย์จากเมืองอื่นยกทัพ มาเพื่อขอแบ่งพระทันตธาตุ กษัตริย์สิงหราชเจ้าเมืองทนธบุรีเห็นว่าจะรักษาเมืองไว้มิได้ จึงให้พระนางเหมชาลา และเจ้าชายทนทกุมารพระธิดาและพระโอรสอัญเชิญพระทันตธาตุ ลงเรือหนีไปลังกา เผอิญเรือกำปั่นถูกพายุพัด เรือแตกทั้งสองพระองค์มาขึ้นฝั่ง ณ หาดทรายแก้ว แล้วฝังพระทันตธาตุไว้ เรื่องราวดำเนินต่อไปจนทั้งสอง พระองค์ไ์ด้กลับ ไปลังกาโดยมีพระทันตธาตุสวน หนึ่งยังฝังอยู่ที่หาดทรายแก้วต่อมาพระเจ้าศรีธรรมโศกราช ได้มาพบพระทันตธาตุ และโปรดให้สร้างพระบรมธาตุเจดีย์ ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุและสร้างเมือง ณ หาดทรายแก้ว จนสำเร็จเมืองดังกล่าวก็คือ เมืองนครศรีธรรมราชพระบรมธาตุเจดีย์ก็คือ พระบรมธาตุเจดีย์ นครศรีธรรมราช ซึ่งเชื่อกันว่าเดิมเป็นเจดีย์แบบอิทธิพลศิลปะ ศรีวิชัย คือเป็นเจดีย์ทรงมณฑป มีหลังคาเป็น สถูปห้ายอดคล้ายพระบรมธาตุเจดีย์ที่อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี อายุราวพุทธศตวรรษที่ 13-15 ต่อมา พระสถูปแบบศรีวิชัยทรุดโทรมลง จึงได้มีการสร้างเจดีย์องค์ใหญ่ทรงลังกาซึ่งเป็นเจดีย์องค์ปัจจุบันครอบไว้ เชื่อกันว่าในขณะนั้นคือราวพุทธศตวรรษที่ 18 อิทธิพลพุทธศาสนาแบบลังกาในดินแดน นครศรีธรรมราช เข้มแข็งมาก นครศรีธรรมราชจึงได้รับอิทธิพลทั้งศาสนาและศิลปกรรมจากลังกา ศาสตราจารย์หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุลทรงวินิจฉัยว่าพระบรมธาตุเจดีย์ปัจจุบันมีลักษณะคล้ายเจดีย์กิริเวเทระในเมืองโบโลนนารุวะ ประเทศ ศรีลังกา สร้างในสมัยพระเจ้าปรากรมพาหุมหาราช ราวต้นพุทธศตวรรษที่ 18 พระบรมธาตุเจดีย์ ก็ควรสร้างหลัง จากนั้นมากส่วนสถาปัตยกรรมอื่น ๆ ภายในวัดพระมหาธาตุฯ ล้วนเป็นของที่สร้างขึ้นในสมัยอยุธยาเป็นส่วนใหญ่จะ มีสิ่งก่อสร้างในสมัย ธนบุรีและรัตนโกสินทร์ตอนต้นอยู่บ้าง เช่น วิหารทับเกษตร วิหารพระแอด เป็นต้น